สุรินทร์ ปิยานันท์, วารินทร์ สุทธสิทธิ์ และ ปก พล นิกร กิมหงวน

  ไปได้ข้อมูลจากเพจพี่ Terry และมีพี่วรวุฒิแนะนำเพิ่มมา เกี่ยวกับปกนิยายสามเกลอ ที่วาดโดย สุรินทร์ ปกที่สำคัญที่สุดที่คุณอาสุรินทร์วาดก็คือ ปก อภินิหารหลวงพ่อทวด ซึ่งเป็นสามเกลอตอนแรกที่ ป. อินทรปาลิต เขียนให้กับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เรื่องนี้มี 2 เล่มจบ ก็เลยต้องวาด 2 ปก พี่วรวุฒิให้ข้อมูลเพิ่มมาว่า ยังมีอีก 2 ปกก็คือตอน มังกรทะเลจีน และ ปกของศาลาโกหก ส่วน วารินทร์ สุทธสิทธิ์ นักวาดปกชื่อดังก็มาร่วมวาดปกสามเกลอด้วย โดยวาดปกตอน แก๊งค์ระเบิดขวด และ ป่ากลางกรุง ซึ่งเป็นสามเกลอตอนที่สอง ที่ ป. อินทรปาลิต เขียนให้กับ บรรลือสาส์น ผลงานวาดภาพปกของ วารินทร์ ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักก็คือพวกปกนิยายจีนนั่นแหละครับ ในวงการจะมีสองท่านคือ วารินทร์ และ พรเทพ ซึ่งสองคนนี้ก็วาดปกสามเกลออยู่บ้าง อย่าง พรเทพ ก็วาดปกตอน “ดาวหางทลายโลก” เล่มที่ 1-5 […]

ภาพวาดของ L.S. Lowry …มันสวยตรงไหน?

  – รายการ FAKE OR FORTUNE? เป็นซีรีส์ของ BBC และมี เน็ทฟลิค เป็นผู้จัดฉายให้ชม เนื้อหาสนุกมาก ก็คือ เขาจะไปหาเจ้าของภาพวาดของศิลปินดัง แล้วหาทางทดสอบว่า ภาพนั้นเป็นของจริงหรือวาดเลียนแบบขึ้น ตรงตามชื่อรายการนั่นแหละ คือ ปลอม หรือ ว่าท่านจะโชคดีมีเงินใช้ (ฮา)… รายการนี้แนะนำมาโดยน้ารงค์ แห่งรายการวิทยุ Satnsun โดยน้ารงค์ได้กล่าวในรายการวิทยุของท่านในวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้เอง (23 มิ.ย.) 😀

โจรในแบกดัด และ The Thief of Bagdad (1940)

จากหนัง 3 ออสการ์ มาเป็นนิยาย พล นิกร กิมหงวน โจรในแบกดัด พิมพ์ครั้งแรก โดย สนพ.เพลินจิตต์ วันที่ 14 ก.ค. 2484 แล้วต่อด้วยตอน ทหารเสือสุลต่าน พิมพ์ในวันที่ 26 ก.ค. 2484 เดือน ก.ค. 2484 มีสามเกลอออกมา 4 ตอน ถือว่าเป็นเดือนที่มีสามเกลอออกมาถี่มาก ชิงนาง – 5 ก.ค. คดีฟ้องหย่า – 12 ก.ค. โจรในแบกดัด – 14 ก.ค. ทหารเสือสุลต่าน – 26 ก.ค. และถ้าอ่านจากเนื้อหาหน้าแรกก็พบว่า เรื่องนี้เขียนในเดือน กรกฎาคม จริงๆ ด้วย คืออ้างอิงกับหนังที่ได้ออสการ์ 3 รางวัลในปี 1941 ก็ฟันธงได้เลยครับว่า สามเกลอเรื่องนี้เขียน […]

นิยายภาพสามเกลอ โดย อาภรณ์ พ.ศ.2515

พล นิกร กิมหงวน ในรูปแบบการ์ตูนหรือนิยายภาพก็มีด้วยนะครับ พ.ศ.2515 สำนักพิมพ์ประมวลสาส์นได้ผลิตนิยายภาพสามเกลอออกมาทั้งหมด 8 เล่ม วาดโดย อาภรณ์ น้องชายของลุงป. โดยจัดจำหน่ายในราคา 3 บาท จำนวนหน้าก็คือ 4 ยก 32 หน้า หลังลุงป. เสียชีวิต พ.ศ.2511 ช่วง พ.ศ.2512-2515 ก็จะมีสามเกลอออกมาหลายเจ้าเลย ประมาณว่าตีเหล็กเมื่อร้อน เช่นค่ายผดุงศึกษา ก็ออกสามเกลอรุ่นที่เราคุ้นตา ในราคา 5 บาท และประมวลสาส์นก็ออกสามเกลอปก กุลน้อย ในราคา 5 บาท มาสู้กัน ส่วนค่ายที่เงียบกริบ ไม่ออกสามเกลอมาอีกเลยคือ บรรลือสาส์น ก็มีออกมาบ้าง แต่ออกมาเพียง 8 เล่ม (วาดปกโดย กุลน้อย) ประมาณ พ.ศ.2523 แล้วก็หายเงียบไปเลย   😀 😀 😀  

ปก “สมบัติปีศาจ” โดย สัมพันธ์ …ประมวลสาส์น พ.ศ. 2513

ปกติปกสามเกลอประมวลสาส์น พิมพ์ครั้งที่ 2 … กุลน้อย จะเป็นคนวาดปกเป็นหลัก แต่มีบางเล่มที่ ลุงสัมพันธ์ มาแจมด้วย สัมพันธ์ ก้องสมุทร เคยวาดปก พล นิกร กิมหงวน สนพ. ประมวลสาส์น ตอน สมบัติปีศาจ ประมาณ พ.ศ.2513 พิมพ์ครั้งที่ 2  (ข้อมูลจากพี่วรวุฒิ) ลุงสัมพันธ์ท่านมีหลายนามแฝงที่ใช้ตอนวาดภาพ เช่น พิรุณ ระย้า จั๊กจั่น และ วรวสี (ข้อมูลจากพี่วรวุฒิ) การ์ตูนเรื่องที่โดดเด่นของคุณอาสัมพันธ์ ก็น่าจะเป็นเรื่อง “ปลาบู่ทอง” มีจำนวน 3 เล่มจบ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น โดยพี่วรวุฒิได้ซื้อเก็บไว้ตอนพิมพ์ครั้งที่ 2 ตอน พ.ศ. 2510 เครดิตภาพ 3 สหาย จากเพจของน้าราช เลอสรวง….เครดิตปกหนังสือจากพี่ Book   ประวัติของ สัมพันธ์ ก้องสมุทร (โดยคุณ ชิด ชยากร) […]

ปก พล นิกร กิมหงวน ประมวลสาส์น

มาไล่เรียงกันว่า ปกสามเกลอยุคประมวลสาส์น เป็นมาอย่างไรบ้าง พ.ศ. 2502 …ป.อินทรปาลิต ได้เริ่มต้นเขียนสามเกลอตอนใหม่เอี่ยมอีกครั้งให้กับสำนักพิมพ์ประมวลสาส์น ถือว่าเป็นการเขียนนิยายสามเกลอแบบชุดใหญ่จัดหนัก เพราะมีจำนวนทั้งหมดราวๆ 50 ตอน ผู้ที่วาดปกก็จะมี สมบุญ สว่างจันทร์ ใช้ลายเซ็นต์บนปกว่า “เทพา” …จากข้อมูลของพี่วรวุฒิได้บอกไว้ว่า เทพา เป็นนักวาดนิยายภาพให้กับสำนักพิมพ์ผดุงศึกษา ด้วย อาทิ ดาบเจ็ดสี …ปกที่ เทพา วาดให้กับประมวลสาส์นก็มี สมบัติปีศาจ, ริโออาโก, สาวนักสู้ และ นักดาบสามเกลอ อีกท่านก็จะเป็น สัมพันธ์ ก้องสมุทร …อันนี้มีหลายนามแฝง เช่น พิรุณ ระย้า จั๊กจั่น และ วรวสี (ข้อมูลจากพี่วรวุฒิ) นอกจากนี้ยังมี เปี๊ยก โปสเตอร์ อีกด้วย … จากข้อมูลในหนังสือของคุณหมอพีระพงศ์บอกไว้ว่า เปี๊ยก โปสเตอร์ วาดปกตอน “เสือปะทะสิงห์” แถมยังวาดด้วยสีน้ำมันอีกด้วย แต่ “ริโออาโก” ที่เป็นตอนแรก […]

ทำไมสามเกลอบรรลือสาส์นถึงไม่ค่อยสนุก

สืบเนื่องมาจากโพสของพี่วงที่กล่าวถึงหนังสือสามเกลอยุคบรรลือสาส์น จากโพสนี้ >> https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2057536251200626&id=100008328134883 ป.เป็ด หลานรักของปู่ ป. ก็เลยต้องมาร่ายยาวให้ฟังว่า ทำไมสามเกลอบรรลือสาส์นถึงไม่สนุกมากเท่ากับสามเกลอตอนก่อนหน้านั้น ต่อไปนี้คือการเขียนของ ป.เป็ด (โปรดทำเสียงก้องๆ แบบในหนังด้วย อิอิ) 😀 ——– สาเหตุที่สามเกลอในช่วงหลังๆ หรือช่วงบั้นปลายชีวิตของผู้ประพันธ์ เป็นชุดสามเกลอที่สนุกสนาน “ น้อยที่สุด “ (ก๊อปสำนวนของท่านสี่สหายฯ มาวางเลยนะเนี่ย) เสด็จปู่ของ ป.เป็ดเคยกล่าวด้วยวาจาไว้ว่า ๑. เนื่องจากสามเกลอมียศทางทหารเพิ่มขึ้น การวางตัวตลอดจนคำพูดคำจา จึงต้องสงวนท่าทีไว้บ้างในฐานะเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะระดับนายพล แม้ นิกร และ กิมหงวน จะเป็นแค่ พันเอกพิเศษ แต่ก็คือ พลจัตวา ในสมัยก่อน ซึ่งยศนี้เลิกใช้ไปนานแล้ว ๒. ผู้ประพันธ์บอกมุขตลกของท่าน “หมดพุง” ภาษาปัจจุบันใช้คำว่า “มุขแป๊ก” (ก๊อปสำนวนของท่านสี่สหายฯ มาวางเลยนะเนี่ย) หมายความว่าท่านเขียนบทตลกในสามเกลอมาตั้งแต่ปี ๒๔๘๒ (นับตามศักราชใหม่) ทุกวันๆๆ วันละหลายตอน ตลอดจนทุกปีๆๆ รวม ๓๐ […]

ขุมทรัพย์จอมพล การดวลภาพปกระหว่างอาภรณ์และปิยะดา

จากโพสในกลุ่มสามเกลอ พี่วงได้นำปก “ขุมทรัพย์จอมพล” ของบรรลือสาส์น มาลงให้ชมกัน และพี่อ๊บก็เอาปกเรื่องเดียวกันนี้ แต่คนละสำนักพิมพ์ คือเป็นของประพันธ์สาส์นมาโพสด้วย ก็เลยเกิดความสงสัยว่า เอ ทำไมเรื่องเดียวกัน ไหงมาพิมพ์ถึง 2 สำนักพิมพ์ได้ล่ะ?ผู้ที่จะมาเฉลยข้อข้องใจนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือพี่ป.เป็ด หลานรักลุงป. ที่เป็นคนสุดท้ายในโลกที่ได้จับต้นฉบับสามเกลอ แล้วนำขึ้นรถเมล์สาย 42 ไปส่งยังเวิ้งนครเขษม ให้กับเฮียชิว แห่ง สนพ.ผดุงศึกษา (หรือประพันธ์สาส์นนั่นแหละ เจ้าเดียวกัน)โดยพี่เป็ดได้กล่าวไว้ว่า (กรุณาทำเสียงพี่เป็ดตามไปด้วย แบบในหนังไทยที่เวลาย้อนพูดเรื่องอดีต จะมีเสียงก้องๆ เล็กน้อย อิอิ) :D”ป.เป็ดจะอธิบายความในประเด็นที่ว่า ทำไมจึงมีการพิมพ์ซ้ำสามเกลอตอนเดียวกัน เรื่องเดียวกัน โดยสำนักพิมพ์ต่างกันเพราะแต่ละ สนพ.ที่ถือลิขสิทธิ์บทประพันธ์ของท่าน ป.ไว้ ได้มีการขายลิขสิทธิ์ไขว้กันไปมา จนไม่รู้ว่า ณ ปัจจุบันสามเกลอเรื่องไหนตอนใดเป็นของใครแล้ว พูดง่ายๆ สนพ พิมพ์ไหนต้องการพิมพ์สามเกลอตอนอะไรก็ว่ามา อั๊วยินดีขายให้ หรืออาจจะให้กันโดยไม่คิดมูลค่าในฐานะกากี่นั้ง-คนกันเองก็ได้ป.เป็ดไม่ได้มโน แต่เคยเห็นหนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์บทประพันธ์ของ ป.อินทรปาลิตโดยสำนักพิมพ์หนึ่ง รายชื่อบทประพันธ์ที่แนบท้ายท้ายสัญญา มองปุ๊บก็รู้ว่าสามเกลอหลายตอนเป็นของอีก สนพ. หนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ขณะคุณปู่ยังมีชีวิต แต่สามเกลอตอนนั้นๆ กลับมามีชื่ออยู่ในรายการแนบท้ายสัญญาด้วยจะว่ารายการแนบท้ายสัญญาสักว่าพิมพ์มั่วๆ ก็ไม่น่าเป็นไปได้ […]

นิตยสาร “เด็กก้าวหน้า”, “ดรุณี” และ “ผดุงศิลป”

สามเกลอเจอดารา เป็นสามเกลอตอนพิเศษที่รวมดาราไทยรุ่นเก่าไว้มากมาย จากโพสใน facebook เกี่ยวกับสามเกลอเจอดารา >> https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155392834998854&set=gm.298124667305845&type=3&theater ก็เลยเกิดคำถามว่า สามเกลอเจอดาราถูกพิมพ์ครั้งแรกเมื่อใด โดยพี่วงได้มาให้คำตอบว่า พิมพ์เป็นตอนๆ ลงในหนังสือเด็กก้าวหน้า ประมาณ พ.ศ. 2506 และประพันธ์สาส์นก็นำมารวมเล่มในภายหลังใน พ.ศ. 2517 …ผมก็เลยมโนต่อไปว่า ดังนั้นการพิมพ์ครั้งแรกก็ต้องไม่มีปกอย่างแน่นอน จัดว่าเป็นสามเกลอแบบยาวที่น่าจะเป็นตอนยาวๆ ครั้งสุดท้าย หลังดาวหางทลายโลก และเป็นการลงมาเล่นในหนังสือครั้งสุดท้ายของลุงป. โดยเป็นฉากกิมหงวนบุกไปหา ลุง ป. ที่บ้านฝั่งธนฯ จริงๆ สามเกลอยาวๆ ตอนสุดท้าย คือ “เกาะมัจจุราช” ตีพิมพ์ใน เด็กก้าวหน้า เช่นกัน เขียนจบตอนสิ้นปี 2510 และตีพิมพ์ออกมาจนจบในเดือนเมษายน 2511 ส่วนหน้าตาของหนังสือเด็กก้าวหน้านั้น ก็มีให้ชมในเวปของอภินันท์ตาม Link นี้ครับ >> http://www.samgler.org/archives/progress01.htm แต่ผมก็ขอ copy เนื้อหามาลงตรงนี้ด้วย เป็นการสำรองข้อมูลไว้ มีข้อสังเกตว่า ฉบับตัวอย่างนี้ พิมพ์ตอนเดือนพฤศจิกายน 2511 ซึ่งเป็นเวลาที่ลุงป.เสียชีวิตไปแล้ว “เคยได้ยินสมาชิกหลายท่านพูดถึง สามเกลอ ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร […]

เรียงลำดับสามเกลอบรรณกิจ

จากโพสของพี่วง >> https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1902108430076743&id=100008328134883สามเกลอบรรณกิจ เริ่มเล่มแรกคือปี 2488 ชื่อตอนว่า “วันคาสิโน”จากนั้นบรรณกิจก็ผลิตสามเกลอแบบจริงจังในช่วงปี 2495-2497 แล้วก็ปิดตำนานแต่เพียงเท่านี้ ส่วนที่พิมพ์ออกมาภายหลังก็คือการพิมพ์ซ้ำ ที่เรายังพอหาซื้อได้ตามร้านหนังสือมือสองก็จะเป็นปกอ่อน หน้าปกสวยพอทน แล้วก็มีปกแข็งแพลมๆ มาบ้าง จนล่าสุดบรรณกิจก็พิมพ์ออกมาใหม่เลยแต่หน้าปกวาดได้แย่มาก เรียงลำดับปี พ.ศ. หนังสือสามเกลอของบรรณกิจพ.ศ. 24882495-249725072517-25202547ชุดที่โดดเด่นของบรรณกิจในปี 2497 ก็คือ “ล่องอาฟริกา” มีทั้งหมด 8 เล่มจบ พิมพ์ออกมาครั้งเดียวและไม่ได้พิมพ์ใหม่อีกเลย 

สามเกลอชุดไปอินเดีย “ซานุกข่าน” – บันดาลสาส์น – 2518

เป็นการไปอินเดียรอบที่ 2 ของคณะสามเกลอ แถมรอบนี้ไปยาวมาก ต้องตามกันหลายเล่มจบเลยต้นทางของตอนนี้ก็มาจากบรรณาคารนั่นแหละครับ ว่ากันว่าพิมพ์ครั้งแรกปี 2495 พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2501 แต่ที่เราๆ ท่านๆ จะหาอ่านกันได้แบบเป็นเล่ม ก็เป็นของบันดาลสาส์น ปี 2518 ซะมากกว่า อันนี้มีทั้งปกแข็งและปกอ่อน หรือที่ดีไปกว่านั้นคือ ที่เวปอภินันท์ ชมรมนักอ่านสามเกลอ มีให้อ่านครบทุกตอน มีข้อสังเกตว่า ในการพิมพ์ในปี 2501 นั้น จะมีการแก้ พ.ศ. ให้ตรงกับปีที่หนังสือถูกพิมพ์ออกมาด้วย ซึ่งอันนี้เป็นมุขยอดนิยมของการพิมพ์ครั้งที่ 2 ของบรรณาคาร มักจะไปแก้วันเวลาของเนื้อหาให้ตรงกับปีที่พิมพ์ (ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี อิอิ)สำหรับปกของชุดนี้ก็ถือว่าหาชมยากพอควร เพราะบันดาลสาส์นเองก็ออกชุดนี้มา 2 รุ่น ที่นำมาให้ชมนี้คือรุ่นแรก ประมาณปี 2518 ปกวาดได้สวยงาม (เครดิตจากเวปบอร์ดของเวปอภินันท์)ส่วนที่มาของชุด “ซานุกข่าน” นั้น ขอเชิญติดตามอ่านจากอีกบทความครับ ดังนี้ >> http://www.ble3d.com/web/?p=1852